ยุค Digital อะไรก็เปลี่ยนแปลง

Last updated: 13 ธ.ค. 2559  |  513 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ยุค Digital อะไรก็เปลี่ยนแปลง ไม่เว้นแม้แต่คุณลักษณะของคนทีเปลี่ยนแนวคิดในการรับคนเข้าทำงาน......

ค่า GAI สำคัญกว่า IQ และ IQ สำคัญกว่า เกรด

พ่อแม่ไทยถามผมทันที ว่า GAI คืออะไร ทำยังไง จึงสอบได้คะแนนสูง ๆ

ดูเหมือนอะไร ๆ ก็ต้องสอบ และเสียเงิน ติวกวดวิชาได้เสมอ

_______________________________________________

GAI (General Ability Index) คือ ความสามารถในการเรียนรู้ ขึ้นกับความฉลาด วัฒนธรรมในการเรียนรู้ ทักษะการวิเคราะห์ปัญหา และความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง ซึ่งคนไทยในไทย ได้ค่อนข้างต่ำตามวัฒนธรรม เมื่อเทียบกับยิว ญี่ปุ่น และเยอรมัน (และไม่มีโรงเรียนกวดวิชา ที่จะสอนได้ครับ นอกจากเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้)

_______________________________________________

มีเรื่องราวน่าสนใจมาบอกเล่าสู่กันฟัง ถึงบริษัทดังระดับโลกอย่าง "กูเกิ้ล" ซึ่งด้านหนึ่งกูเกิ้ลมีการวิเคราะห์กลุ่มบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการทำงานกับกูเกิ้ล โดยไม่ได้นำเรื่องของเกรดเฉลี่ย โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยดัง และกลุ่มที่แสดงออกว่าฉลาดเฉลียวระหว่างการสัมภาษณ์งานมาเกี่ยวข้อง

ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ของหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการณ์ด้านบุคลากรของกูเกิ้ล ลาซ โลบ๊อกได้เล่าถึงรายละเอียดบุคลากรที่กูเกิ้ลมองหามาร่วมงานให้ฟัง และแน่นอนไม่ได้เกี่ยวกับโพรไฟล์ส่วนตัวอะไรด้วย

--กูเกิ้ล บอกว่า ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีโอกาสที่จะขาดสิ่งที่เรียกว่า "ความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา"

ขยายความได้ว่า คนที่เพิ่งเรียนหนังสือจบในแบบที่คะแนนเกรดเฉลี่ยดีเข้าข่ายประสบความสำเร็จในอายุยังน้อยอาจจะปรับตัวยากในการเรียนรู้อะไรที่ท้าทายเพราะคิดว่าไม่สามารถที่จะล้มเหลวได้

กูเกิ้ลจึงมองหาคนที่สามารถจะยอมถอยและรับฟังให้เกียรติความคิดคนอื่นๆถ้านั่นเป็นสิ่งที่ดีกว่าเรียกว่ามีความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญหานั่นเองเพราะถ้าไม่มีสิ่งนี้ก็ยากที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆหรือไม่สามารถเรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวได้

--กูเกิ้ล บอกว่า คนที่สามารถทำอะไรเจ๋งๆได้โดยไม่ต้องมีคำว่า "มหาวิทยาลัย"มาเกี่ยวข้อง มักจะเป็นกลุ่มคนที่มี "ความโดดเด่น" อยู่เสมอ

"บ๊อก" หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการณ์ด้านบุคลากรของกูเกิ้ล ให้ความเห็นว่า หลายครั้งที่พบว่าบุคลากรในหลายที่ตามที่ทำงานต่างๆใช้ความเป็นสถาบันการศึกษามาช่วยเป็นไม้ค้ำให้ตัวเองและมันก็ไม่ได้ผล(บ๊อก:ใช้คำว่าไม้ยันรักแร้ช่วยพยุง)

บ๊อกมองว่าระบบการศึกษาขณะนี้ไม่ได้ให้การเรียนรู้ที่จะเป็นประโยชน์ในโลกการทำงาน

--กูเกิ้ล บอกว่า ความสามารถในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าไอคิว

ด้วยแนวคิดที่ว่าคนที่ประสบความสำเร็จทางวิชาการหรือการศึกษาไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ที่บอกได้ว่าจะมีความสามารถในการทำงานเสมอไป

"บ็อก"กล่าวว่าระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถสร้าง "สภาพแวดล้อมเทียม" ขึ้นมาได้ นั่นคือการสร้างเงื่อนไขเฉพาะทางขึ้นมา เป็นต้นว่าเรื่อง "ไอคิว" ซึ่งเขามองว่า "ไอคิว" มีค่าน้อยกว่าการเป็นคนที่มีความสามารถในการที่จะเรียนรู้ หรือคนประเภท On the fly (คนที่สามารถปรับตัว เปลี่ยนแปลงได้ดีและรวดเร็ว) ซึ่งกูเกิ้ลจะประเมินโดยการใช้การสัมภาษณ์ที่พิจารณาผ่านพฤติกรรมด้วย

"การหาคนของกูเกิ้ล จึงเน้นหาคนที่สามารถที่จะเรียนรู้ และมีความสามารถในการปรับตัวทันท่วงที ไม่ได้เน้นต้องการหาคนแนวที่เคยเป็นผู้นำชมรมต่างๆในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย แต่เราหาคนที่มีความสามารถจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในยามที่มีสถานการณ์จำเป็น"

Powered by MakeWebEasy.com