อีก 15-20 ปีข้างหน้า โลกกำลังจะเปลี่ยนไป..

Last updated: 6 ส.ค. 2560  |  645 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อีก 15-20 ปีข้างหน้า โลกกำลังจะเปลี่ยนไป..


ประเทศจีนได้ประกาศแล้วว่าธนาคารแห่งชาติจะนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้ควบคู่กันกับเงินสกุลหยวน และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างทดสอบการใช้งาน

ประเทศฝรั่งเศสประกาศหยุดการใช้น้ำมันในยานยนต์ภายในปี 2040 และจะเป็นประเทศ carbon neutral ภายในปี 2050

IFR ประกาศผลการจัดอันดับว่า ประเทศเกาหลีใต้ มีความหนาแน่นของการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมสูงที่สุดในโลก โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึงประมาณ 7 เท่า (478 หน่วยต่อคนงาน 10,000 คน)

แม้ว่าประเทศจีนไม่ติดอันดับความหนาแน่นของการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมสูงที่สุดในโลกก็ตาม (จีนมีหุ่นยนต์ 33 หน่วยต่อคนงาน 10,000 คน) แต่ IFR ได้รายงานว่าจีนมีอัตราการเติบโตและมีการจำหน่ายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากที่สุดในโลกในปีนี้ (2017)

ประเทศเยอรมันนีจะยกเลิกการผลิตและจำหน่ายรถที่ใช้น้ำมัน (combustion engine cars) และไม่ใช้พลังงานจากถ่านหิน ภายในปี 2030

BMW เตรียมการผลิตรถรุ่น i3 และ i8 เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าทั้งหมด และ Mercedes-Benz ประกาศว่าจะเริ่มผลิตรถพลังงาน Hydrogen ภายในสิ้นปี 2017

BI Intelligence คาดการณ์ว่า จะมีรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Self-driving cars) อย่างน้อย 10 ล้านคันทั่วโลกภายในปี 2020 และจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และจะใช้มากเป็นพิเศษในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

Goldman Sachs คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 รถจำนวน 25% ของจำนวนรถทั้งหมดที่มีการขายในตลาดจะเป็นรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% (จะไม่ใช้น้ำมัน)

ITU ประกาศผลการจัดลำดับ ICT Development Index ผลคือ ประเทศเกาหลีใต้มี Broadband Internet ความเร็วสูงที่สุดในโลก และอัตราการเข้าถึง Broadband Internet ของประชากร สูงที่สุดในโลก

GSMA คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน SIM โทรศัพท์เคลื่อนที่เชื่อมต่อกันถึง 9 พันล้านภายในปี 2020 และ 1 ใน 3 ของจำนวนนี้จะเชื่อมต่อในระดับ Broadband และระบบ mobile จะก้าวสู่ 5G อย่างสมบูรณ์แบบ ที่ความเร็วที่สูงกว่า 4G อย่างน้อย 10 เท่า

World Economic Forum (WEF) ได้คาดการณ์ว่า Blockchain และ Bitcoin จะถึงจุดที่มีการตอบรับการใช้งานอย่างมากและเป็นเรื่องธรรมดา (tipping point) ภายในปี 2027 และในภาครัฐในหลายประเทศจะใช้ภายในปี 2023

ปัจจุบัน ทั่วโลกรวมกันสามารถผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ถึงกว่า 200,000 Megawatts ซึ่งพอเพียงสำหรับบ้านกว่า 29 ล้านหลังคาเรือน โดยมีประเทศในเอเชีย 3 ประเทศที่ติดอันดับ Top 10 ของโลกในการผลิต คือ เกาหลี, จีน และญี่ปุน

ผลการสำรวจของ Deloitte พบว่า ระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัททั่วโลกกว่า 56% กำลังมุ่งเน้นไปที่การนำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ และสรุปว่า "AI ไม่ได้กำจัดตำแหน่งงานของมนุษย์ แต่มันเป็นตัวกำจัดรูปแบบการทำงานแบบเดิมให้หายไป และกำลังสร้างงานรูปแบบใหม่ขึ้นมาจำนวนมาก"

ท่ามกลางความสับสนและความเสี่ยงในการลงทุนในธุรกิจด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ได้โหมการลงทุนอย่างมากในด้าน AI เช่น Apple ลงทุนในโครงการ virtual assistant, Facebook ลงทุนเปิด AI Lab 3 แห่ง และเพิ่งตั้ง Lab ใหม่ในปารีส, Google ทุ่มซื้อบริษัท AI startup หลายบริษัท เพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ เช่น แปลภาษา, อ่านภาษา, แปลความหมายจากภาพ, จัดอันดับ ranking, การพยากรณ์อนาคตในด้านต่างๆ เป็นต้น ส่วน Amazon กำลังลงทุนในโครงการ AI ที่เกี่ยวกับวิเคราะห์ Big data เพื่อติดตามพฤติกรรมของลูกค้าแบบ realtime

จากการเปลี่ยนแปลงของโลกตามที่ได้กล่าวพอสังเขป ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุค Industry 4.0 อย่างสมบูรณ์แบบภายในปี 2025 และเชื่อได้ว่า รูปแบบธุรกิจต่างๆ (business model) ในหลายอุตสาหกรรมจะไม่มีรูปแบบเดิมๆ ที่เห็นกันในวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมสื่อ (Media), โทรคมนาคม (Telecom), การเงินการธนาคาร (Financial services), การประกันภัย (Insurance), ค้าปลีก (Retail), โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นต้น และหลังจากปี 2030 ภาคที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน (Energy) และด้านสุขภาพ/ชีววิทยา (Healthcare/Bio industries) จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแรงในคลื่นลูกต่อไป

"เราพร้อมเตรียมบุคคลากรเพื่อโลกใหม่แล้วหรือยัง???"

บุคคลากรของชาติที่ควรเตรียมการสู่อนาคค

- คณิตศาสตร์ประยุกต์

- วิทยาการคอมพิวเตอร์ (เน้นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์)

- วิทยาการข้อมูล (Data Science)

- วิศวกรรมไฟฟ้าด้าน Robot, Digital Signal Processing, AI, Photovoltaic (Solar)

- Bio Tech, Healthcare

- การบริหารงานนวัตกรรมและเทคโนโลยี

- อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

------------------

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2560

ประวัติ: http://www.xn--42cf0a8cxa3ai5ple.com/?p=165
www.เศรษฐพงค์.com

Powered by MakeWebEasy.com