Last updated: 4 ก.ย. 2560 | 449 จำนวนผู้เข้าชม |
'เงิน' หาย จากระบบเศรษฐกิจ ไปสู่ "ปัจจัยที่ 5"
ใคร ๆ ก็บ่น ว่าขายของไม่ออก เศรษฐกิจไม่ดี
เผอิญว่า ไปอ่านบทความนึงของ Wall Street Journal ที่น่านำมาคิดต่อ คือ เป็นบทความที่รายงาน ว่า...
บริษัทเนสท์เล่ บริษัทโคคาโคลา บริษัทขายแชมพู ในอินเดีย ยอดขายตก !!
เค้าวิจัย พบว่า...
คนอินเดีย เอาเงินไปใช้กับ "มือถือ" และพวกเค้า กำลังสนุกกับการใช้ Internet จากมือถือ เลยเอาเงินไปซื้อเน็ตกันมาก เลย.. ลดการใช้เงิน กับสินค้า และเครื่องดื่มที่คุ้นเคย ( http://on.wsj.com/2vJnQs4 ) จนยอดขายของเนสท์เล่ โค้ก และ อื่น ๆ ลดลง
ผมเลยเกิดความสงสัยว่า แล้วเมืองไทยล่ะ ธุรกิจของเรา ได้รับผลกระทบ จากการบูมของมือถือไหม
เรามาดูตัวเลขกันครับ
1. จำนวนโทรศัพท์มือถือในเมืองไทย ในปี 2017 มีจำนวน 90 ล้านเครื่อง
2. ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือ แต่ละเบอร์ มีค่าเฉลี่ยประมาณ 220 บาทต่อเดือน (ข้อมูลปี 2558)
3. แต่ละปี ต้องนำเข้าโทรศัพท์มือถือ เข้ามาประมาณ 25 ล้านเครื่อง (ข้อมูลปี 2556) ค่าเฉลี่ยเครื่องละ 7 พันบาท (จากการประเมินของ กสทช.)
ในปีนึง ๆ คนไทย เสียเงินไปกับ การใช้ 'มือถือ' เป็นเงินเท่าไหร่ ??
• ค่าใช้สัญญาณโทรศัพท์
= 90 ล้านเครื่อง x ฿220/ด. x 12 ด./ปี
คิดเป็นเงิน 237,600 ล้านบาท ต่อปี
• ค่าซื้อเครื่องโทรศัพท์
= 25 ล้านเครื่อง x ฿7,000/เครื่อง
คิดเป็นเงิน 175,000 ล้านบาท ต่อปี
รวมสองตัวเลขนี้ ออกมาเป็น 412,600 ล้านบาทต่อปี หรือ พูดกันง่าย ๆ ว่า เงินในกระเป๋าคนไทย จำนวน สีแสนกว่าล้านบาท หายไปกับการใช้ หรือการมีโทรศัพท์มือถือ (แน่นอนว่า เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บ้าง ไม่มากก็น้อย)
เงินจำนวนนี้ ถ้าเอาไปซื้อรถ ราคา 1 ล้านบาท ก็จะได้รถยนต์ 4 แสนกว่าคัน (ปี 2559 เราซื้อรถเก๋งกัน 5 แสนกว่าคัน)
เงินจำนวนนี้ หายออกไปจากระบบ ไปสู่เมืองนอก 1.75 แสนล้านบาท ไปสู่บริษัท ที่ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ อีก 2.37 แสนล้านบาท
ถามว่า ในยุคที่มือถือ ยังไม่บูม เงินสี่แสนกว่าล้านบาท นี้ ถูกนำไปหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ อย่างไร !?
ผมไม่สามารถสรุปได้ ว่า เงิน 4 แสนเกือบ 5 แสนล้านบาท ที่หายออกไป จากระบบของเรานั้น ส่งผลอะไร ต่อระบบเศรษฐกิจ ส่งผลอะไร กับการซื้อขายอาหารการกิน ที่แม่ค้าแม่ขาย บ่นกันทั่วหน้าหรือเปล่า
หรือ 4-5 แสนล้านบาท นี้ เป็นเงินจิ๊บๆ เมื่อเทียบกับเม็ดเงิน ที่หมุนเวียนกันอยู่ ในระบบของเรา
ขอขอบคุณบทความจาก..ตราชู กาญจนสถิตย์
เขียนเมื่อ 8 ส.ค. 2560
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561