Last updated: 4 ก.ย. 2560 | 3613 จำนวนผู้เข้าชม |
ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ภาษีการให้และการรับ..
- มาฟังการบรรยายพิเศษ เกี่ยวกับ ภาษีมรดก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีการให้และการรับ ที่สมาคมบ้านปันรัก มูลนิธิบ้านอารีย์ ซอยอารีย์ 1 โดยคุณลลิล วราสินธุ์ ที่ปรึกษาทางการเงิน ของ Wealth Star Consunlting Group และ และ ที่ปรึกษา บริษัท เอ ไอ เอ เป็นผู้บรรยาย
1. สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ณ ปัจจุบัน ยังไม่คลอดออกมาเป็นตัวกฎหมาย เพราะมีปัญหาข้อโต้แย้ง ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยมีการเปลี่ยนข้อกำหนดและ เงื่อนไขอีกบางประการ โดยในวันนี้ วิทยากร จะ Update ความคืบหน้าให้ทราบ คือ
1.1 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นั้น เดิมกำหนดคลอดในปีนี้ คือ ปี 60 โดยจะนำมาใช้ไนปี 61 ล่าสุด คาดว่า น่าจะคลอดในปี 61 โดยจะนำมาบังคับใช้ในปี 62
1.2 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นการนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือน และ ภาษีบำรุงท้องที่ โดยจะมีการเก็บภาษีที่ชัดเจนมากกว่าเดิม เพื่อข่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย กับคนจน กระตุ้นให้นำที่ดินมาใช้ประโยชน์มากกว่าการปล่อยให้เป็นที่ว่างเปล่า
1.3 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ที่ดินประเภท เกษตรกรรม ที่ดินประเภท ที่อยู่อาศัย ที่ดินประเภท พาณิชยกรรม และ ที่ดินประเภท ที่รกร้างว่างเปล่า โดยใช้ราคากลางของกรมที่ดิน ที่มีการประเมินใหม่มาเป็นหลักในการประเมินการจัดเก็บภาษี
1.3.1. ที่ดินประเภท เกษตรกรรม อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะจัดเก็บไม่เกิน 0.2% ถ้ามูลค่า ไม่เกิน 50 ล้าน ไม่ต้องเสียภาษี เสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 50 ล้านแรก
1.3.2. ที่ดินประเภท ที่อยู่อาศัย อัตราภาษีไม่เกิน 0.5% สำหรับบ้านหลังแรก ที่เป็นเจ้าบ้านเอง มูลค่าไม่เกิน 50 ล้าน ไม่ต้องเสียภาษี แต่ บ้านหลังที่ 2 ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าบ้าน เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องเสียภาษีเต็มจำนวนมูลค่าทรัพย์สินนั้นๆ
1.3.3. ที่ดินประเภท พาณิชยกรรม เช่น ตึกแถว คอนโด อัตราภาษีไม่เกิน 2%ของราคาประเมินใหม่ในปัจจุบัน
1.3.4. ที่ดินประเภท ที่ว่างเปล่า เริ่มเสียภาษีตั้งแต่ มีมูลค่า ที่ 2% สูงสุดไม่เกิน 5% โดยจะปรับอัตราภาษีเพิ่ม ทุกๆ 3 ปีๆละ 0.5% จนถึงอัตรา 5% ของมูลค่าทรัพย์สินในแปลงที่ดินที่ว่างเปล่าดังกล่าว ถ้าที่ดินนั้นๆ ยังคงมีสภาพที่ว่างเปล่าเหมือนเดิม อัตราภาษีจะแรับเพิ่มขึ้น ทุกๆ 3 ปี
1.4 บ้านหลังแรก ที่ได้รับการยกเว้นภาษี นั้น ถ้าบ้านหลังแรก มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ ถ้าบ้าน บวกที่ดินมีมูลค่า เกิน 50 ล้าน เช่น มีมูลค่า 70 ล้าน ก็ต้องนำส่วนเกิน 20 ล้านมาเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1.5 ที่ว่างเปล่า ไม่มีการยกเว้นมูลค่าที่ดินขั้นต้น ราคาประเมินใหม่เท่าใด ใน 3 ปีแรก ต้องเสียภาษีอัตราต่ำสุด เริ่มที่ 2 % ของมูลค่าประเมินราคาใหม่ของที่ดินแปลงดังกล่าว
2. ภาษีมรดก
2.1 - เป็นภาษีตัวใหม่ ที่ประกาศใช้แล้ว จุดมุ่งหมาย เพื่อต้องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย กับคนจน ให้ลดลง เพื่อให้ไม่มีฐานความรวย ความจนห่างกันมากเกินไป
2.2 - อัตราภาษีมรดกของไทย จะมีอัตราต่ำมาก ถ้า เทียบกับอัตราภาษีมรดกของประเทศอื่นๆ คือ อัตราภาษีมรดกของไทย นั้น จะอยู่ระหว่าง 5-10% ของราคาแระเมินเท่านั้น
- อัตราภาษีมรดกของญี่ปุ่น มีอัตราภาษี อยู่ที่ 10-50%
2.3 - ในหลายๆประเทศ ผู้ที่เป็นอัศวิน หรือ ผู้ที่เป็นเจ้าของประสาทต่างๆ เวลาอัศวินเจ้ามรดกตาย หรือ เจ้าของปราสาทตาย ทายาทไม่ต้องการรับมรดกเป็นตัวปราสาทราคาแพง จะ ต้องหาเงินสดมาเสียภาษีมรดกในอัตราสูง
2.4 - ในที่สุด ปราสาทต่างๆ ก็ตกเป็นของรัฐบาลของประเทศนั้นๆ โดยนำมาทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
2.5 - ที่ผ่านมา ในประเทศไทย พวกตระกูลใหญ่ๆ หรือผู้ที่มีความร่ำรวย ได้ทำการโอนทรัพย์สินต่างๆ ให้ลูกหลานไปก่อนที่กฎหมายมรดกจะมีผลใช้บังคับ
2.6 - กฎหมายเกี่ยวกับมรดก เริ่มใช้บังคับแล้ว ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นมา เมื่อใดที่เจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดก อาจเป็นทายาทโดยธรรม หรือ ผู้ได้รับมรดกตามพินัยกรรมก็ตาม ที่รับมรดกเกิน 100 ล้านเท่านั้น ที่ต้องเสียภาษีมรดก
2.7 - ขอย้ำว่า มรดก ไม่เกิน 100 ล้าน ลูกหลาน ไม่ต้องเสียภาษีมรดก แต่ ถ้าถ้าเคยได้รับมรดกจากใครมาแล้ว เช่น
- ครั้งแรก ได้รับมรดกจากพ่อ 70 ล้าน ต่อมา อีก 2 ปี แม่ตาย ได้มรดกจากแม่อีก 50 ล้าน กรณีนี้ ถือว่า บุคคลผู้นั้น ได้รับ 70 ล้าน นำมาบวก ที่รับ จากแม่ใหม่ 50 ล้าน ก็ถือว่า ได้รับมรดกมาทั้งหมด รวมเป๋น 120 ล้าน ในส่วน 20 ล้าน ที่เกิน 100 ล้านดังกล่าวนี้ ต้องเสียภาษีมรดก
2.8 - มรดกนั้น รวมทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน กรรมสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ ของเจ้ามรดกด้วย
2.9 - เจ้ามรดกตายก่อน 1 กพ 59 มรดกดังกล่าว ไม่ต้องเสียภาษี
2.10 - คู่สมรส ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับมรดก ไม่ต้องเสียภาษี
2.11 - ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ที่เป็นบุคคลธรรมดา เเละ นิติบุคคล รับมรดกทั้งจากในประเทศ และ นอกประเทศ ก็ ต้องเสียภาษีมรดก แต่ตะเสียภาษีในส่วนที่ได้จากประเทศไทยเท่านั้น
2.12 - ต่างด้าว รับมรดกที่อยู่ในประเทศไทย ก็ต้องเสียภาษีมรดกเช่นกัน ไม่ว่าเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลก็ตาม เฉพาะทรัพย์มรดกที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมด
2.13 - ถ้าเป็นที่ดิน หริอ อสังหาริมทรัพย์ ใช้ราคาประเมินจากกรมที่ดินเป็นหลัก ที่ดินที่ว่างเปล่า เมื่อถนนตัดผ่าน ราคาอาจพุ่งสูงมากขึ้น รวมราคาประเมินเกิน 100 ล้าน เมื่อไร ผู้รับมรดก ต้องเสียภาษีมรดกตามราคาประเมินใหม่ สำหรับสินทรัพย์อื่นๆ แต่ละประเภท สามารถดูราคาประเมินสินทรัพย์ ได้จาก
- หุ้น ดูตามราคาตลาด ณ วันที่รับมรดก
- เงินฝากในธนาคาร และ เอกสารการให้กู้ยืมต่างๆ ณ วันเจ้ามรดกตาย
- ยานพาหนะ ใช้ราคาประเมินสูงสุด และ ต่ำสุด มาหารเฉลี่ย
- ทรัพย์สินอื่นๆ เช่น งาช้าง หุ้นของบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ทรัพย์สินทุกอย่าง ต้องประเมินราคาใหม่ทั้งหมด
2.14 - ทรัพย์สินที่ไม่มีหลักฐาน ไม่ต้องเสียภาษี มรดก เช่น ทองคำ เพชรพลอย พระเครื่อง ฯลฯ เพราะ ไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ แต่ ถ้ามีหลักฐานว่า ผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ เมื่อเป็นมรดก ก็ต้องประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อการเสียภาษีมรดก เช่นเดียวกัน
2.15 - ผู้ที่ได้รับมรดก กฎหมายยกเว้นไม่เสียภาษี คือ ถ้ายกสินทรัพย์ นั้นๆ ให้แก่สาธารณะกุศล ยกมรดกให้เพื่อการศึกษา ยกมรดกให้แก่รัฐบาล มิใช่ ยกให้มูลนิธิของครอบครัว
2.16 - มรดกนั้น รวมทรัพย์สิน หัก หนี้สิน ที่ได้รับมาทุกครั้งรวมกัน ถ้าเหลือมูลค่าเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษีมรดก
2.17 - ผู้สืบสันดาน หรือ บุพพการี ลูกหลานที่ได้รับมรดกมา ต้องเสียภาษี 5% ถ้า ผู้อื่นรับมรดก ผู้อื่นนั้น ต้องเสียภาษี 10% ของทรัพย์สินที่เกิน 100 ล้านแรก
2.18 - คู่สมรส ไม่ต้องเสียภาษีมรดก ไม่ว่า จะเป็นจำนวนทรัพย์มรดกเท่าไร
2.19 - ภาษีที่ต้องจ่าย ต้องจ่ายเป็นเงินสด แต่ มรดกนั้น อาจเป็นที่ดิน ที่ยังขายไม่ได้ ย่อมเป็นทุกขลาภของผู้รับมรดก ที่ต้องยื่นแบบการเสียภาษีมรดกภายใน 150 วัน นับแต่เจ้ามรดกตาย ผู้ได้รับมรดก จะอ้างว่า ไม่ทราบ ที่ต้องยื่นแบบประเมินเพื่อเสียภาษี จึงไม่ได้ยื่น อ้างแบบนี้ ไม่ได้ เพราะ กฎหมายภาษีมรดกนี้ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ บังคับใช้แล้ว เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน และ ผู้ได้รับมรดก ต้องยื่นแบบที่สรรพากรเขตพื้นที่
2.20 - ปัญหา คือ ต้องยื่นแบบเสียภาษีมรดกภายใน 150 วัน ถ้ายื่นสินทรัพย์น้อยกว่าความจริง จะถูกเบี้ยปรับ เพิ่ม เท่ากับ 0.5 เท่า ของมรดก
- แต่ ถ้าไม่ยื่นแบบเสียภาษีมรดก จะเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของมรดก นอกจากนั้น จะเสียเงินเพิ่มอีก 0.5 เท่าของมรดกอีกด้วย
2.21 - ถ้า ผู้รับมรดก ไม่เสียภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียดอกเบี้ยอีก 1.5 % ต่อเดือน
2.22 - ดังนั้น ทุกคน ที่มีสินทรัพย์ ต้องทำบัญชีทรัพย์สินของตนว่า มีทั้งหมดเท่าไร เป็นเงินฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก หุ้นกู้ หุ้นสามัญ รถยนต์ บ้าน ที่ดิน ฯลฯ และ ต้องปรับปรุงเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุกๆ 1 ปี เพราะมูลค่าทรัพย์สินมีการเปลี่ยนแปลง
2.23 - นอกจากเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และดอกเบี้ย แล้ว ยังมีโทษทางอาญาด้วย ถ้ามีการซ่อนเร้นทรัพย์มรดก ไม่จดแจ้งมรดกที่ตนได้รับมา
2.24 - ทางสรรพากร ยอมให้ผ่อนชำระภาษีมรดกได้ไม่เกิน 2 ปี ที่ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ถ้าเกิน 2 ปี ต้องเสียดอกเบี้ยด้วย
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561