Last updated: 14 ต.ค. 2560 | 1455 จำนวนผู้เข้าชม |
แนวความคิดในการพัฒนากำลังคนแบบเร่งด่วน
(ปวช-ปวส-ป.ตรี) เพื่อรองรับ การลงทุนใน EEC
ผมขอยกตัวอย่าง การดำเนินการผลิตบุคลากรของศูนย์ IoT สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ร่วมกับบริษัท Celestica เป็นการผลิตแบบหวังผลภายในหนึ่งปี ด้วยการอาศัยหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนอยู่แล้วของสถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะไอทีโดยการเพิ่มเติมวิชา MINOR หรือวิชาเลือก 4-5 วิชา ที่เน้นรายละเอียดเฉพาะทาง IoT ดังนั้นนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตร ฟีโบ้/วิศวกรรมศาสตร์/คณะวิทย์/คณะไอที สาขาต่างๆ จึงสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับ IOT ใน 2-3 ภาคการศึกษาสุดท้าย ในการนี้การผลิตกำลังคนสามารถรับนักศึกษาได้ตั้งแต่ชั้นปี 3 เป็นต้นไป ไม่จำเป็นต้องเปิดรับตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 และหรือต้องจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ take time และยุ่งยากมาก การผลิตแบบเร่งด่วน ผมเคยจัดทำให้กับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์ของประเทศเมื่อ 7-8 ปีก่อน
อนุมานจากการจะเกิดโครงการจำนวน 5 โครงการ และกระจายความรับผิดชอบไปยังมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง โดยรัฐให้การสนับสนุนบริษัท Celestica กับทั้ง 5 มหาวิทยาลัย ในการให้เข้าไปปรับปรุงพัฒนาระบบเดิมของโรงงาน 5 แห่ง ให้มีความเป็น IOT ผลผลิตคือโรงงานแต่ละแห่งจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IOT ขณะเดียวกันก็มีการผลิตกำลังคนในระบบวิชาเลือกให้เกิดขึ้นจากแต่ละมหาวิทยาลัยๆละประมาณ 80 คน รวมจำนวนนักศึกษาที่มีความรู้ด้าน IOT จากมหาวิทยาลัยทั้ง 5 แห่ง เท่ากับผลิตกำลังคนได้ประมาณ 400 คน
ด้วยหลักการดำเนินงานเช่นนี้ สามารถขยายผลไปยังสาขาต่างๆ ทั้ง 10 คลัสเตอร์ ที่อยู่ในพื้นที่ EEC ด้านการประเมินการหรือคำนวณว่าจะผลิตกำลังคนได้กี่คนนั้น ต้องขึ้นกับเนื้อหาวิชา และโครงการที่เลือกมาดำเนินการ ดังนั้นสมการหรือค่าตั้งต้นจึงต้องคาดเดาว่าอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาต้องการกำลังคนเท่าไหร่ (ฟีโบ้กำลังดำเนินการ EV-Automation-Aerospace-Logistics) จากนั้นจึงคำนวณออกมาว่ามหาวิทยาลัย/วิทยาลัย แต่ละที่ต้องร่วมกันผลิตกำลังคนขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาร่วม contribute เช่นเดียวกันกับ บริษัท Celestica
*** การผลิตกำลังคนแบบเร่งด่วนนี้
(1) ใช้เวลา หนึ่งปี ซึ่งน่าจะพอดีกับระยะเวลาสร้าง manufacturing facility ของโรงงาน
(2) ต้องได้รับ blessing จาก ท่านรมว. ศึกษา/อุตสาหกรรม/DE
(3) เมื่อพ้นช่วงระยะเร่งด่วนแล้ว (ผลิต 30,000 คน ภายในหนึ่งปี งบประมาณ 50,000 บาทต่อหัวต่อปี ประมาณการ) จึงกลับมาปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่ ปวช 2 ปี ปวส 3 ปี และ ปริญญาตรี 4 ปี ให้ตรงตามที่อุตสาหกรรมต้องการ
เรียบเรียง โดย ดร. ชิต เหล่าวัฒนา
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560
13 ก.พ. 2561
13 ก.พ. 2561
13 ก.พ. 2561
12 มี.ค. 2561