Last updated: 20 ต.ค. 2559 | 558 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัจจุบันนี้ลูกหลานไม่สืบต่อธุรกิจที่บรรพบุรุษเป็นผู้ก่อตั้ง ถ้าผู้ก่อตั้งยังมีชีวิตอยู่ และต้องการสืบต่อเจตนารมณ์และอุดมการณ์ที่ก่อตั้งธุรกิจของตัวเอง โดยมอบให้ลูกหลานดำเนินการต่อ เห็นจะต้องคิดถึงอนาคตแล้ว อย่าลืมว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว Generation ใหม่มีความคิดที่แตกต่างจากเรา
สถิติการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัว จากรุ่นสู่รุ่น ลดลงอย่างน่าใจหาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทายาทรุ่นถัดไป ไม่ได้มีความสนใจและหลงใหลในธุรกิจของครอบครัว เหมือนคนรุ่นก่อตั้ง
ผลการสำรวจด้านธุรกิจจากธนาคารกลางญี่ปุ่นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่า
1) บริษัทครอบครัวขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าหรือบริการป้อนบริษัทขนาดใหญ่จำนวน 2 ใน 10 ปิดตัวลง
2) ในปี 2557 อัตราการเปิดธุรกิจใหม่ เท่ากับ 3.4% ในขณะที่อัตราการปิดกิจการ เท่ากับ 5.5% (ธุรกิจปิดตัวมากกว่าเปิดใหม่)
3) ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีธุรกิจครอบครัวจำนวน 26,700 ราย สมัครใจปิดกิจการลง เนื่องจากเจ้าของหาผู้สืบทอดธุรกิจต่อไม่ได้ หรือ มีผลประกอบการที่ไม่สดใส (ข้อมูลจาก โตเกียวโชโกรีเสิร์ช)
4) นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2551 จำนวนกิจการที่สมัครใจปิดตัวลง มีมากกว่าจำนวนกิจการที่ล้มละลาย ถึง 3 เท่าตัว
5) อายุเฉลี่ยของเจ้าของกิจการครอบครัวในปัจจุบัน อยู่ที่ 59.2 ปี สูงกว่าเมื่อปี 2533 ซึ่งอยู่ที่ 54 ปี โดย 2 ใน 3 ของเจ้าของกิจการเหล่านี้ ไม่มีผู้สืบทอดกิจการ
ฟังดูแล้วน่าตกใจ แม้ในประเทศไทย ยังไม่มีหน่วยงานใด เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบเช่นนี้ แต่เชื่อว่าก็คงไม่ต่างกันมากนัก !
ดังนั้น การวางแผนสืบทอดอำนาจ (Succession Planning) และการเตรียมการส่งต่ออำนาจการบริหารให้กับมืออาชีพ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561