Last updated: 7 มิ.ย. 2560 | 526 จำนวนผู้เข้าชม |
ความเชื่อส่วนตัวว่า พระเจ้ามีองค์เดียวเท่านั้น ที่แตกเป็นศาสนาต่างๆ เกิดจากศาสดา ที่ไปกำเนิดตามภูมิภาคต่างๆ...
"ความเกี่ยวพันของศาสนาพุทธ-พราหมณ์-เชน-ฮินดู"
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู เกี่ยวพันกันอย่างไร
ทุกวันนี้ ยังคงมี ผู้ที่ ไม่เข้าใจว่า
ทำไม ศาสนาพุทธ จึงยังมี พิธีพราหมณ์ ปะปนอยู่
และ ศาสนาเชน เชื่อเรื่องกรรม แต่ทำไม พระพุทธศาสนา จึงเชื่อว่า กรรมเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งใน ๒๔ ปัจจัย ที่ทำให้ สัตว์บุคคลมีความเป็นไป และ ที่ทำไม พระพุทธเจ้า จึงเป็น อวตาร หนึ่งของพระนารายณ์ หรือ พระอิศวร แล้วทำให้เป็นนิกายหนึ่งของ ฮินดู
วันนี้ จึงขอนำเอา ประเด็นเหล่านี้มาขยายความดังนี้
๑ ทำไม ศาสนาพุทธ จึงยังมี พิธีพราหมณ์ ปะปนอยู่
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ ศาสนาพุทธ นั้น เป็นศาสนาที่ต่อยอด จาก ศาสนาพราหมณ์
คือ มีศาสนาพราหมณ์ เป็นรากฐาน ได้แก่
มีการเจริญทาน เจริญศีล และ เจริญสมาธิ เหมือนกัน
ต่างกัน ก็เพียงแต่ ศาสนาพุทธ ไม่หยุดอยู่ที่ สมาธิ หรือ ฌานสมาธิ ด้วยเพราะ พระพุทธเจ้า พิจารณา เห็นว่า ยังไม่ สิ้นสุด ยังไม่พ้นจาก วัฏฏทุกข์
> นั่นคือ ศาสนาพราหมณ์
เจริญศีล เพื่อหยุดใช้กาย ทำบาป อกุศล หยาบ
เมื่อ หยุดกาย ในการทำบาปอกุศล แล้ว ใช้กายที่สงบ เจริญสมาธิ เพื่อให้จิต สงบ นั่นคือ เพื่อให้ จิต หยุดคิด บาปอกุศล ซึ่งหมายความว่า ยังมีกายอยู่ แต่ทำ กายให้สงบ แล้วทำจิตให้สงบ ที่เรียกว่า รูปฌานสมาธิ ที่เป็นภาวะ ที่ขันธ์ ๕ สงบ
ภาวะ ทั้งศีล และ สมาธิ อย่างนี้ เรียกว่า ปัญจโวการภาวะ หรือ ปัญจโวการภพ ที่ดี และ ดียิ่ง
แต่ในกรณีนี้ ยังมีบางท่าน ที่สามารถเจริญ ให้จิตสงบ แล้ว ยังสามารถ ละนามขันธ์ ๔ ที่เป็นอาการทางจิต ลงได้อีกด้วย คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณ ขันธ์ ลงได้ จึงเหลือ แต่รูปขันธ์ ที่สงบ เรียกว่า อสัญญาสัตตา หรือ อสัญญีพรหม ภาวะอย่างนี้ เรียกว่า เอกโวการภาวะ หรือ เอกโวการภพ ดียิง
ส่วน เมื่อ บรรลุ รูปฌานสมาธิแล้ว ยังมี บุคคล ที่มีความสามารถมาก สามารถ ละรูปขันธ์ ลงได้อีก จึงเหลือแต่ นามขันธ์ ๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ จึงเรียกว่า อรูปฌานสมาธิ ภาวะอย่างนี้ เรียกว่า จตุโวการภาวะ หรือ จตุโวการภพ ที่ดียิงยวด
นี่คือ สถานภาพ ของศาสนาพราหมณ์ ที่มีมานาน ก่อนศาสนาพุทธ หลายพันปี
สถานภาพอย่างนี้ ยังไม่ได้ ละ กิเลส เลย
เพียงแต่ สะกด หรือ กด กิเลสไว้ ให้อยู่นิ่งๆเท่านั้น
จึงยังไม่สามารถ ถึงพระนิพพาน หรือ หลุดพ้นไปจาก วัฏฏทุกข์ได้
> ต่อมา จึงมีศาสนาเชน เกิด ขึ้น
ก่อน ศาสนาพุทธ ประมาณ ๕๐๐ ปี คือ มีพระมหาวีระ ที่เป็น วรรณกษัตริย์ มีความเห็น ดังที่กล่าวมาแล้วว่า
ที่พราหมณ์ บำเพ็ญเพียร มาอย่างนั้น เพียงสะกด หรือ กด กิเลสไว้เท่านั้น แท้จริง มนุษย์ มีความเป็นไป โดย กรรม ที่เป็น ต้นทางทำให้ ได้เกิด เป็นมนุษย์ หรือ ไม่เกิดมาเป็นมนุษย์
ใครทำกรรมเลว คือ ทรมานสัตว์ ฆ่าสัตว์ ย่อมทำให้ไปเกิด ในสถานที่ไม่ดี เพราะ กรรม แต่งให้เป็นไป อย่างนั้น
การจะเป็นผู้บริสุทธิ์ จะต้องหยุดทำกรรมเลว เหล่านั้น แล้ว ต้องทรมานกาย ให้ถึงที่สุด เพื่อตัดกิเลส ให้เกิด ความบริสุทธิ์ ดังนั้น
ศาสนาเชน จึงมีหลัก เพิ่มขึ้นจากศาสนาพราหมณ์ คือ
เชื่อเรื่อง กรรม โดย หยุดทำการ ฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ จึงไม่กิน เนื้อสัตว์ ที่เรียกว่า มังสวิรัติ และ มีการทรมานกาย เพื่อ ความบริสุทธิ์ จากกิเลส ทั้งปวง ที่เรียกว่า บำเพ็ญตบะ
ดังนั้น ศาสนาเชน มี ๒ นิกาย คือ
นิกายนุ่งขาวห่มขาว เรียกว่า เศวตัมภรณ์ และ อีก
นิกายหนึ่ง ที่ไม่นุ่งผ้าเลยเป็นชีเปลือย เรียกว่า ฑิฆัมภรณ์
> ต่อมา จึงเกิด ศาสนาพุทธ ตามมา คือ
มี พระสิทธัตถะ โคตมโคตร ที่เป็น วรรณกษัตริย์ มีความเห็นว่า ที่พราหมณ์ บำเพ็ญเพียร มาอย่างนั้น เพียงสะกด หรือ กด กิเลสไว้เท่านั้น
และ ที่ พระมหาวีระ เชื่อว่า เป็นไป โดย กรรม ที่ทำให้ ได้เกิด เป็นมนุษย์ หรือ ไม่เกิดมาเป็นมนุษย์ โดย ใครทำกรรมเลว คือ ทรมานสัตว์ ฆ่าสัตว์ ย่อมทำให้ไปเกิด ในสถานที่ไม่ดี เพราะ กรรม แต่งให้เป็นไป และการจะเป็นผู้บริสุทธิ์ ได้นั้น โดยต้องทรมานกาย ให้ถึงที่สุด เพื่อตัดกิเลส ให้เกิด ความบริสุทธิ์ นั้น อย่างนั้น
พระพุทธเจ้า พระองค์ได้พิสูจน์ แล้วว่า
ยังไม่ใช่ ทางพระนิพพาน แท้ที่จริง
แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้มีความเป็นไป คือ ปัจจัย ๒๔ โดย มีวัฏฏ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง
>> นี่คือ ความต่อยอด ของศาสนาพุทธ
ต่อจาก ศาสนาเชน และ ต่อยอดจากศาสนาพราหมณ์
เมื่อเป็นมาเช่นนี้ ศาสนาพุทธ จึง ไม่ปฏิเสธ ศาสนาพราหมณ์ หรือ ศาสนาเชน ไปเสียทั้งหมด
ดังนั้น สำหรับ ปุถุชน ประชาชน ทั่วไป จะยังมีพิธีกรรม ต่างๆ ของศาสนาเชน ศาสนาพราหมณ์ ก็ยังพอยอมได้
เพียงแต่ เมื่อ จะไปให้ พ้นทุกข์ จะต้องเข้าใจ ให้ถูกต้อง
คือ มีสัมมาทิฏฐิ ว่าอย่าเชื่อ อย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส
แต่ให้ เจริญ วิปัสสนาญาณ พิจารณาให้เห็น ตามความเป็นจริงเพิ่มขึ้น
จนสามารถ ละกิเลสลงสิ้น ได้ นั่นแหละ คือ พระนิพพาน
เมื่อ เป็นเช่นนี้ ศาสนาพุทธ จึงสามารถเผยแผ่ ในอินเดีย ที่เป็น ศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาเชน ได้
และมีคนที่ พร้อมเจริญวิปัสสนาญาณ ให้พ้นจาก วัฏฏทุกข์ได้มากมาย จึงเจริญรุ่งเรือง จนถึงที่สุดได้
ดังนั้น สำหรับ ปุถุชน ประชาชน ทั่วไป จึงยังมีพิธีกรรม ต่างๆ ของศาสนาเชน ศาสนาพราหมณ์ อยู่มาก ซึ่งก็ยังพอยอมรับได้ เพราะเป็น ส่วนที่เป็น ทาน ศีล สวดมนต์ภาวนา ที่เหมือนกัน ที่ยังไม่พ้นทุกข์
เพียงแต่ เมื่อ จะไปให้ พ้นทุกข์ นั้น ศาสนาพุทธ มีคติว่า
จะต้องเข้าใจ และมีความเห็น ที่ถูกต้อง คือ ต้องมีสัมมาทิฏฐิ ให้ถูกต้อง คือ
๑.อย่าเชื่อ อย่างที่เคยปฏิบัติกันมา
ที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส
๒.แต่ต้องละ ทิฏฐิ นั้น แล้ว ต้องพิจารณาด้วย ความเป็นจริงว่า สัตว์บุคคล ไม่มีตัวตนที่แท้จริง คือ
"เป็นแต่ ธาตุต่างๆ มาประกอบกันขึ้นเท่านั้น"
และเป็นไปโดยไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๓.และ มีกรรม เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เป็นไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก รวมทั้งสิ้น ๒๔ ปัจจัย ที่ทำให้มนุษย์สัตว์บุคคล มีความเป็นไป และ เป็นไปตาม ปฏิจจสมุปบาท แล้วสรุปเป็น อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นั่นเอง
จึงเป็นการ ละ หรือ ดับ ความลังเลสงสัย ลงสิ้น และ จนทำให้ ละ อวิชชา ลงได้ เกิด วิชชา ที่ทำให้ เกิด ความบริสุทธิ์ที่แท้จริงได้ คือ โดย
-ศีลวิสุทธิ์ คือ เจริญศีลปาฏิโมก
-จิตวิสุทธิ์ คือ เจริญสมาธิ จนบรรลุปัญจมฌานสมาธิขึ้นไป
-ปัญญาวิสุทธิ์ คือ เจริญ วิปัสสนาญาณ จนบรรลุโลกุตตรมรรคญาณ ๔ ที่มีผล เป็น โลกุตตรผลญาณ ๔ นั่นเอง
นั่นคือ ศาสนาพุทธ ต่อยอดด้วยการ ให้ เจริญ วิปัสสนาญาณ พิจารณาให้เห็น ตามความเป็นจริงเพิ่มขึ้น
จึงทำให้ บริสุทธิ์ ได้อย่างแท้จริง จนสามารถละ
กิเลส ตัณหา ลงสิ้นได้ นั่นแหละ คือ พระนิพพาน
เมื่อ เป็นเช่นนี้ ศาสนาพุทธ จึงสามารถเผยแผ่ ในอินเดีย
ที่มีพื้นฐาน เป็น ศาสนาพราหมณ์ และ ศาสนาเชน ได้
และ มีคนที่ พร้อมเจริญวิปัสสนาญาณ ให้พ้นจาก วัฏฏทุกข์ได้มากมาย จึงเจริญรุ่งเรือง จนถึงที่สุดได้
> จนต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ ๗
ศาสนาพราหมณ์ ได้ปฏิรูป โดย ศังกราจารย์ ดาวจรัสแสง ซึ่งเป็นมหาปราชญ์ ของลัทธิไศวะ
ที่บูชาพระศิวะ จัดตั้งเป็นศาสนาฮินดู ในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นศาสนา ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด โดยรวบรวมความเชื่อต่างๆ ที่แยกเป็นหลาย นิกาย เข้ามาไว้ด้วยกัน คือ
มีพระเจ้า ๓ องค์ พระพรหมผู้สร้าง พระนารายณ์ผู้รักษา และพระอิศวรผู้ทำลาย
และนับพระพุทธเจ้าไปอยู่ในอวตารหนึ่ง ของพระนารายณ์ เป็นปางที่ ๙ และ กลืนศาสนาพุทธ โดยนับเป็นเพียงลัทธิหนึ่ง ในศาสนาฮินดู
จึงเป็นเหตุสำคัญ ที่ทำให้มีการกลืนศาสนาพุทธ จนทำให้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ ศาสนาพุทธถูกกลืนในอินเดีย
แต่โชคดีที่ ศาสนาพุทธที่ อิสระ ยังมีการเจริญอยู่ในประเทศศรีลังกา
ต่อมา ระหว่าง พ.ศ.๑๔๐๐ ได้เกิดคลื่นปฏิรูปศาสนาฮินดู ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ โดย รามานุช มหาปราชญ์ ในลัทธิไวษณะวะ ซึ่งนับถือพระนารายณ์
เน้นการอุดช่องว่าง ของศาสนาฮินดูที่ยังมีอยู่ คือ
เน้นความจงรักภักดีต่อพระเจ้า แล้วพระเจ้าจะทรงช่วยเหลือ นั่นคือ แม้คนที่ผิดบาปมากที่สุด(ที่ไปนับถือศาสนาพุทธ) ก็สามารถกลับไปนับถือ ศาสนาฮินดูได้
จึงทำให้มีการกลืนศาสนาพุทธขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒
จนศาสนาพุทธเกือบสูญไปจากอินเดีย
ดังนั้น ศาสนาพุทธ ที่ อิสระ จึงไม่เหลืออยู่ในอินเดีย
เหลือแต่ ศาสนาพุทธ ที่มีชื่อว่า เป็น นิกายหนึ่งใน ศาสนาฮินดู นั่นเอง จึงไม่ถึงกับสูญสิ้นไปเสียทีเดียว แต่ ถูกกลืน ไปไว้ใน ศาสนฮินดูเท่านั้น
แต่ศาสนาพุทธ ที่ อิสระ ยังมีการเจริญอยู่ในประเทศศรีลังกา แล้วเผยแผ่ออกมาสู่ สยามปรเทศ ที่เรียกว่า ลังกาวงศ์
(ต่อมา พ.ศ. ๒๑๒๗ พระนเรศวรมหาราช ประกาศอิสรภาพ และทรงชนะศึก ยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕)
พ.ศ. ๒๒๙๓ เนื่องจากศาสนาพุทธ ลังกาวงค์ สูญสิ้น ที่ลังกา พระเจ้ากิติสิริราชสิงห์ ของลังกา จึงทรงส่งคณะทูตมายังราชอาณาจักรสยาม ในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศแห่ง กรุงศรีอยุธยา
ขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทชาวลังกา ได้พระอุบาลีเถระเป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปใน ปี ๒๒๙๖
พำนักที่วัดบุพพาราม กรุงแกนดี ประกอบพิธีผูกสีมาแล้วอุปสมบทกุลบุตร ฟื้นสังฆะ ในลังกาทวีปขึ้นใหม่
เกิดเป็นคณะสงฆ์ อุบาลีวงค์ หรือ สยามวงค์ อันเป็นคณะสงฆ์ใหญ่ที่สุดในศรีลังกาปัจจุบัน นั่นเอง
อ้างอิงหนังสือ
กาลานุกรม ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ ปยุตโต)
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561