Last updated: 5 ก.ย. 2559 | 1859 จำนวนผู้เข้าชม |
ทั้งศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ต่างสอนให้ทีจิตเมตตา รู้จักการให้อภัย เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการอภัย ***หลายคนสงสัยว่า หากคนๆหนึ่งทำเลวกับเราไว้มากๆ แล้วเราจะไปเมตตาหรือให้อภัยเขาลงได้อย่างไร...* ที่ถามมาเช่นนั้น เพราะสิ่งที่หลายคนยังไม่ทราบก็คือ "การให้อภัย" ไม่ใช่การกระทำเพื่อสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนที่เราเกลียด แต่เป็นการกระทำเพื่อสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้กับตัวเราเอง...
เวลาที่เราเกลียดใคร คนที่ได้รับผลเสียทันทีคือตัวเรา เพราะสารพิษต่างๆและสารเคมีแห่งความเครียดที่เรียกว่า "คอร์ติโซล" จะหลั่งไหลออกมามากมายในสมองของเราเอง ...ไม่ใช่ในสมองของคนที่เราเกลียด เวลาที่เราให้อภัยใคร คนที่โชคดีทันทีคือตัวเรา เพราะสารเคมีแห่งความสุขที่เรียกว่า "เอ็นดอร์ฟิน" และ "เซโรโทนิน" จะหลั่งไหลออกมามากมายในสมองของเราเอง
ไม่ใช่ในสมองของคนที่เราให้อภัย เกลียดเขา เรากลับป่วยง่าย และตายเร็ว เมตตาเขาเรากลับสุขภาพดีและมีอายุยืน เกลียดเขา เราทุกข์ เมตตาเขา เราสุขเอง นี่แหละคือความหมายอันลึกซึ้งของ "ธรรม" ที่เรียกว่า "มโนกรรม" ซึ่งแปลว่า "กรรม ที่กระทำด้วยจิตใจ" จำคำที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เถิดว่า “เจ้าจะไม่ถูกลงโทษ เพราะเจ้าโกรธ แต่เจ้าจะถูกลงโทษ โดยความโกรธของเจ้าเอง”
***เลิกหยิบขวดยาพิษขึ้นมาดื่ม แล้วหวังว่าคนอื่นจะตายเถอะนะครับ***
จากหนังสือ "กรรมตามสมอง" (Best Seller)
การให้อภัยของชาวคริสต์
เราจะให้อภัยบาปชั่วของเขา และจะไม่จดจำบาปของเขาทั้งหลายอีกต่อไป – เยเรมีย์ 31:34 อ่าน: เยเรมีย์ 31:31-40
เซอร์เก้บอกกับศิษยาภิบาลของเขาว่า “สองปีแล้วที่แดนิกานอกใจผม แต่ผมก็ยังไม่หายเจ็บ บางวันผมก็คิดว่าผมทำใจได้แล้ว แต่ความเจ็บปวดมันคอยซุ่มอยู่ รอวันที่จะระเบิดออกมาแบบไม่ทันตั้งตัว บางครั้งเรากำลังทานข้าวกันในร้านอาหาร แล้วความเสียใจกับความโกรธก็ถาโถมเข้ามาจนผมรู้สึกว่าผมเกลียดเธอมาก ผมจะยกโทษได้อย่างไรถ้าผมไม่ลืม?”
ศิษยาภิบาลบอกว่า ไม่มีทางที่เซอร์เก้จะลืมสิ่งแดนิกาทำ เพราะเธอเป็นคนสำคัญสำหรับเขา “คุณเคยขอโทษใคร แล้วเขาจำคุณไม่ได้หรือจำสิ่งที่คุณทำไม่ได้ไหม? ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการที่รู้ว่าตัวเองเป็นคนไม่สำคัญขนาดแม้แต่ความบาปของเราก็ยังไม่มีใครสนใจ ดังนั้น การที่คุณไม่สบายใจที่แดนิกานอกใจจึงถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี”
เซอร์เก้แย้งต่อ “แต่พระคัมภีร์บอกไม่ใช่หรือว่าการให้อภัยต้องอาศัยการไม่จดจำด้วย พระเจ้าทรงไม่จดจำความบาปของเราไม่ใช่หรือ?”
ศิษยาภิบาลตอบว่า “ถ้าการไม่จดจำหมายถึงพระเจ้าไม่ทรงทราบว่าเราทำอะไรไปบ้าง งั้นก็ไม่ใช่แล้ว! เป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะไม่รู้ทุกสิ่งที่เคยเกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น เมื่อพระเจ้าตรัสว่าพระองค์ ‘จะไม่จดจำบาปของเขาทั้งหลายอีกต่อไป’ หรือ ‘ตะวันออกไกลจากตะวันตกเท่าใด พระองค์ทรงปลดการละเมิดของเราจากเราไปไกลเท่านั้น’ (สดด.103:12) พระองค์ทรงหมายความว่า พระองค์จะไม่ถือโทษความบาปต่อเราอีก พระองค์ทรงจำได้ว่าเราทำอะไรไปบ้าง และด้วยเหตุนี้การให้อภัยของพระองค์จึงมีค่ามากยิ่งขึ้น เพราะคุณรักแดนิกาและความบาปของเธอกรีดแทงคุณร้าวลึก การให้อภัยของคุณจึงไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ครั้งเดียวจบ ทุกครั้งที่คุณนึกถึงสิ่งที่เธอทำ คุณจำเป็นต้องปลดปล่อยหนี้ทางศีลธรรมของเธอ แต่ยามที่คุณต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อจะให้อภัย คุณจะรู้ว่าคุณกำลังต่อสู้เพื่อเธอ และเธอก็จะเป็นคนสำคัญสำหรับคุณมากยิ่งขึ้น
“การให้อภัยหมายถึงการจำได้และปล่อยมันไป เราไม่สามารถให้อภัยสิ่งที่เราลืมไปแล้วได้” – mike wittmer
อ่านสดุดี 103:1-22 เพื่อดูว่าพระเจ้าทรงให้อภัยเราอย่างไรบ้าง เราจะนำการให้อภัยแบบนี้ไปใช้กับผู้อื่นได้อย่างไร
อิสลามว่าจงเป็นผู้ที่ชอบให้อภัย
เขียนโดย อาฏิฟ อับดุรรอชีด
การให้อภัยเป็นคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ที่มุสลิมจะต้องสร้างมารยาทอันนี้ แท้จริงอัลลอฮฺ ได้พรรณนาตัวของพระองค์ว่า พระองค์นั้นเป็นผู้ที่ให้อภัย และได้ใช้ให้บ่าวของพระองค์ให้เลียนแบบลักษณะนั้น อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
ความว่า “เจ้า(มุหัมมัด) จงยึดไว้ซึ่งการให้อภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลังให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด” (อัลอะอฺรอฟ : 199)
การให้อภัยนั้น คือ การชัยชนะของจิตใจที่สงบต่อจิตใจที่ยุยงให้กระทำชั่ว โดยที่บุคคลหนึ่งจะแผ่ออกไปเมื่อมีบุคคลหนึ่งได้ทำอันตรายแก่เขา แท้จริงท่านนบีมุหัมมัด ได้สั่งเสียในเรื่องของท่านอภัย โดยท่านกล่าวว่า
"การบริจาคทานจะไม่ทำให้ทรัพย์สินลดน้อยลง และไม่มีบ่าวคนใดที่ให้อภัยนอกจากอัลลอฮ์จะทรงเพิ่มเกียรติยศให้แก่เขา และไม่มีผู้ใดที่นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮ์ นอกจากอัลลอฮ์จะทรงยกเขาให้สูงขึ้น" (รายงานโดย มุสลิม)
ดังนั้นความประเสริฐของการให้อภัยยิ่งใหญ่มาก เมื่อการให้อภัยแผ่กระจายออกไปจะทำให้เกิดความรักในหมู่มนุษย์ และมันจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ส่งผลทำให้เกิดความรัก และความเป็นมิตรกัน แท้จริงรางวัลของผู้ที่ชอบให้อภัยนั้น คือ อัลลอฮฺจะทรงรักเขา ดังที่พระองค์กล่าวว่า
وَالْكَاظِمِيْنَ الْغَيْظَ وَالْعَافِيْنَ عَنِ النَّاسِ وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِيْنَ “และบรรดาผู้ข่มโทษและบรรดาผู้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์ อัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย”
(ซูเราะห์ อาลีอิมรอน : 134) เดชา โพสต์ 19 ส.ค. 2559 เดชา โพสต์เพิ่มเติม 21 ส.ค. 2559
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561
13 มี.ค. 2561